สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสิชล จ.นครศรีธรรมราช

สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสิชล จ.นครศรีธรรมราช
นายสุริยะ ริยาพันธุ์ ตำแหน่ง สัตวแพทย์อาวุโส

รางวัลแห่งความภูมิใจ

รางวัลแห่งความภูมิใจ
หน่วยผสมเทียมดีเด่น กรมปศุสัตว์ ปี 2553

หน่วยผสมเทียมดีเด่น รางวัล ชนะเลิศ

หน่วยผสมเทียมดีเด่น รางวัล ชนะเลิศ

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ
สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสิชล คว้ารางวัลงานผสมเทียม อันดับ 1 และ อันดับ 2 ระดับเขต 8

หน่วยวิจัยผสมเทียมสิชล

หน่วยวิจัยผสมเทียมสิชล

การบริหารงานภายในสำนักงานปศุสัตว์อำเภอสิชล

1.โครงการ Good office (ค่านิยมสร้างสรรค 5 ประการ)
1.1 กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
1.2 ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ
1.3 โปร่งใสและตรวจสอบได้
1.4 ไม่เลือกปฏิบัติ
1.5 มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
2.โครงการ 5 ส.
3.จะไม่นำหรืออ้างระเบียบที่หยุมหยิมเกินไปมาเป็นตัวขัดขวางในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานราชการหรืออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน

วิสัยทัศน์

1.ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการผลิตทุกธุรกิจปศุสัตว์
2.ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการลงทุนทุกธุรกิจปศุสัตว์
3.ส่งเสริมและสนับสนุนเร่งรัดด้านการส่งออก(ต่างจังหวัดฯ)
4.สัตว์ปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

แนวทางปฏิบัติงานในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านปศุสัตว์

อ้างถึง หนังสือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ นศ 0007/ว.3979
ลงวันที่ 19พ.ย.2552ให้สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ถือแนวปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
1.การรับแจ้งความเสียหาย ให้ใช้แบบ กษ.01(ตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด)
และมอบหมายให้ ผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันหรือนายกอบต.หรือนายกเทศมนตรี
เป็นผู้รับรองความเสียหาย
2.สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ รวบรวมความเสียหายด้านปศุสัตว์
และทำบันทึกข้อมูลตามโปรแกรมใน Microsoft Excell
ชึ่งสามารถประมวลผลเป็นแบบ กษ.02(ตามแบบฟอร์มของกรมปศุสัตว์)
3.ส่งข้อมูลที่บันทึกให้เกษตรอำเภอเป็นผู้ประมวล เพื่อเสนอ ก.ช.ภ.อ.
ดำเนินการต่อไป

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การดำเนินการเมื่อพบสุกรสงสัยว่าเป็นโรค PRRS

เมื่อปศุสัตว์อำเภอได้รับแจ้งว่ามีสุกรป่วย-ตาย ให้ดำเนินการ ดังนี้
1) ตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้นแล้วพบสุกรป่วยและมีลักษณะใกล้เคียงหรือตรงตามคำนิยามโรค
PRRS และดำเนินการสอบสวนโรคในเบื้องต้นโดยด่วน
2) ให้สำนักงานปศุสัตว์อำเภอดำเนินการเก็บตัวอย่างตามข้อ 2.1 และ 2.2 ดังนี้
     2.1) เก็บตัวอย่างจากสุกร กำลังป่วยใกล้ตาย หรือซากสุกรที่ตายใหม่ไปยังศูนย์วิจัยและ
พัฒนาการสัตวแพทย์ (ศวพ.) ที่รับผิดชอบพื้นที่ หรือ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ (สสช.)
     2.2) ผ่าซากและเก็บตัวอย่างจากอวัยวะที่สำคัญ เช่น ทอนซิล ปอด ตับ ม้ามไต หัวใจ โดย
ในขั้นตอนการผ่าซากให้เป็นไปตามหลักวิชาการและป้องกันโรคปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมด้วย
3) แนวทางการควบคุมโรค ดังนี้
    3.1) สั่งกักสุกรภายในสถานที่เกิดโรค หากเป็นไปได้ ควรให้เจ้าของเป็นผู้ดำเนินการแยก
สัตว์ป่วย (isolation) จากสัตว์ที่มีอาการปกติ
   3.2) แนะนำให้เกษตรกรดำเนินการ
          ‐ เผา หรือ ฝังซากสุกรที่ตาย โดยให้ฝังซากสุกรใต้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่า50เซนติเมตร และถ้าเป็นสัตว์ใหญ่ให้พูนดินกลบเหนือระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร โดยใช้สารเคมีทำลายเชื้อโรคราด หรือโรยที่ส่วนต่างๆ ของซากสัตว์จนทั่ว และเลือกสถานที่ฝังซากสุกรที่ไม่มีน้ำท่วมขัง
         - กักกันและแยกสัตว์ที่อยู่ร่วมฝูงกับสัตว์ที่ป่วย-ตาย
         - ปัดกวาดทำความสะอาดเล้าและพื้นที่เลี้ยงสัตว์ด้วยน้ำผงซักฟอก (detergent cleansing) หรือ ทำการพ่น/ราดน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (disinfection) ให้ทั่วบริเวณที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของ
เชื้อโรค อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้งหรืออย่างน้อยจนกว่าจะไม่พบสุกรป่วยและจัดให้มีอ่างใส่น้ำยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับบุคคลที่เข้า-ออกคอกสัตว์

ยุทธศาสตร์กรมปศุสัตว์ พ.ศ.2552 - 2555

วิสัยทัศน์ “ เป็นองค์กรนำการปศุสัตว์ไทยสู่ตลาดโลก ”
พันธกิจ
1.วิจัยและพัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยี
2.พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน
3.ป้องกัน ควบคุม และแก้ไขปัญหาโรคสัตว์
4.กำกับ ดูแล และอำนวยความสะดวกให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
ประเด็นยุทธศาสตร์
1.การเร่งรัดการดำิเนินการตามภารกิจของกรมให้ตอบสนองต่อความต้องการด้านปศุสัตว์ของประเทศ
2.การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาให้กรมเป็นศูนย์กลางภูมิปัญญาด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.การสร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านปศุสัตว์ให้เข้มแข็ง
4.การบริหารจัดการให้เข้มแข็งและเพิ่มสมรรถนะบุคลากร
ค่านิยมกรมปศุสัตว์ : สามัคคี มีเมตตา

โรคที่สำคัญของช้าง

โรคที่สำคัญของช้าง

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis
อาการ ช้างป่วยจะมีอาการค่อนข้างรวดเร็ว คือล้มลงและตายทันที อาการที่ไม่รุนแรง คือ เบื่ออาหาร ไข้สูง ผุดลุกผุดนั่ง มีเลือดออกตามเยื่อบุผิว มีอาการบวมใต้หนัง อุจจาระปนเลือด ตายอย่างรวดเร็ว ห้ามเปิดผ่าซากโดยเด็ดขาด ควรจะเผาหรือฝังลึกๆ โรยด้วยปูนขาว ป้องกันสัตว์มาคุ้ยเขี่ย และควรสวมถุงมืออย่าให้เลือดสัตว์ถูกมือ
การรักษา ให้ยาปฎิชีวนะ
การป้องกัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ในแหล่งที่มีโรคระบาด
________________________________________
โรคโลหิตจาง (Anemia)
โรคโลหิตจางมักเกิดในลูกช้าง เนื่องจากขาดธาตุเหล็กหรือมีพยาธิ รักษาโดยให้ Iron-dextran และให้อาหารเสริมซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบต่ออีกระยะหนึ่ง
________________________________________
โรคโคไลแบคซิลโลซิส (Colibacillosis)
โรคนี้มักพบในลูกช้างที่เกิดใหม่ที่ไม่ได้รับ Colostrum เพียงพอ หรือช้างรุ่นๆ ที่ได้รับอาหารสกปรกหรืออยู่ในโรงเรือนที่ขาดสุขลักษณะที่ถูกต้อง
สาเหตุ เกิดจากเชื้อ Escherichia coli
อาการ มีไข้สูง เบื่ออาหาร ท้องเสียและขาดน้ำอย่างรุนแรง
การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะ และ Supportive ตามสมควรร่วมด้วย
________________________________________
โรคท้องร่วง (Diarrhoea)
โรคท้องร่วง ท้องเสีย หรือท้องเดิน หมายถึง ภาวะที่ช้างมีอาการถ่ายอุจจาระบ่อย อุจจาระเหลวมากกว่าปกติหรือถ่ายเป็นน้ำ เป็นมูกหรือมูกเลือด โรคนี้จะพบมากในลูกช้างและมักมีอาการรุนแรง
สาเหตุ
1. เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น Salmonella spp., E. coli, Pseudomonas spp., และ Clostridium spp.
2. เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสที่เคยตรวจพบจากอุจจาระของช้างที่ถ่ายเหลว ได้แก่ Crona virus
3. เกิดจากหนอนพยาธิหรือโปรโตซัว ช้างที่แสดงอาการถ่ายเหลวที่มีสาเหตุจากหนอนพยาธิ ส่วนมากมักเป็นแบบเฉียบพลัน บางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น เบื่ออาหาร ท้องอืด เป็นต้น หนอนพยาธิที่พบในช้างคือ Strongyle, Protozoa, Coccidia, Eimeria, Flagellates และ Trichomona นอกจากนี้ยังอาจพบ Giardia และ Hookworm
________________________________________
เอ็นเทอโรท็อกซีเมีย (Enterotoxemia)
โรคนี้เคยมีรายงานว่าทำให้ช้างตายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช้างรุ่นๆ ที่ไปกินอาหารสกปรก มีการปนเปื้อนของเชื้อเข้าไป
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Clostridium perfringens ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิด anaerobic bacteria
อาการ กระสับกระส่าย เบื่ออาหาร ท้องร่วงและตาย โดยเฉพาะลูกช้างจะตายง่ายมาก
การวินิจฉัย โดยการเพาะเชื้อและจำแนก toxin ในห้องปฏิบัติการ
การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะ ร่วมกับ antitoxin และรักษาตามอาการ
การป้องกัน ในต่างประเทศโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน
________________________________________
โรคเยื่อตาอักเสบ (Conjunctivitis)
ช้างบ้านมีปัญหาเกี่ยวกับตาค่อนข้างจะรุนแรงมาก อาจมีผลทำให้ช้างตาบอดได้
สาเหตุ
- ผงสกปรกเข้าตา ทำให้ระคายเคือง ถ้ามีเชื้อโรคเข้าตาก็จะทำให้ตาอักเสบลุกลามรุนแรง ตั้งแต่ตาแดง เยื่อตาฝ้าจนถึงขั้นตาบอด
- ลูกตา ถูกหญ้าบาดหรือของแหลมคม เช่น หนามทิ่มแทงหรือถูกก้อนหิน หนังสะติ๊กยิงถูกลูกนัยน์ตา เกิดเป็นแผลหรือลูกตาแตก
- เกิดจากการแพ้ เนื่องจากสุขภาพอ่อนแอ ป่วย มีไข้สูง ทำให้เยื่อตาอักเสบ
อาการ น้ำตาไหล ตาแดงและอักเสบ หลับตาบ่อย มีขี้ตาและอาจใช้งวงขยี้ตาบ่อยๆ เนื่องจากมีอาการระคายเคืองหรือเจ็บคันนัยน์ตาและมักจะหลบ ซุ่มอยู่ใต้ร่มไม้ ไม่กล้ามองสู้แสงแดด หากไม่รักษา ปล่อยไว้จะเกิดเป็นเยื่อตาฝ้าและถึงขั้นตาบอด
การักษา
- นำช้างตาเจ็บไปผูกไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดดจ้ามากนัก
- ล้างตาด้วยน้ำยาบอริค 1% หรือน้ำยาโซเดียม ไบคาร์บอเนต แล้วป้ายด้วยขี้ผึ้งป้ายตา (จำพวกยาปฏิชีวนะ Terramycin, Kemicitin อย่างเดียวหรือไม่ cortisone ด้วย) ถ้าลูกตาอักเสบรุนแรงก็จำเป็นต้องฉีด Dexamethasone เข้า subconjunctiva ในลูกตาช้าง แต่ต้องฉีดจากผนังตาด้านนอก โดยฉีดเฉียงและอาจให้ Vitamin A เสริมในรายที่ขาด Vitamin A ด้วย (ในกลุ่มควาญช้างนิยมใช้ยาสีฟันป้ายลูกตาเพื่อรักษาโรคตาอักเสบ)
________________________________________
โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and Mouth disease)

ช้างเป็นโรคนี้ได้โดยติดจากโค กระบือ
สาเหตุ เชื้อไวรัส
อาการ มีลักษณะอาการเช่นเดียวกับสัตว์อื่นๆ ที่เป็น คือ ฝ่าเท้าและเล็บลอกหลุด เจ็บเท้า เดินไม่ค่อยได้ มีแผลที่เพดานปาก กินอาหารลำบาก มีไข้
การรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะควบคุม Secondary infection และใส่แผลด้วยยา gentian violet หรือให้สารอาหารบำรุงต่างๆ ช้างจะสามารถหายได้เอง
การป้องกัน ฉีดวัคซีนให้โค กระบือ ในบริเวณที่เลี้ยงช้าง
________________________________________
โรคคอบวม (Haemorrhagic septicemia or Pasteurellosis)
โรคคอบวม โรคนี้มักเกิดในช้างที่เลี้ยงในแหล่งที่มีโค กระบือ ถ่ายอุจจาระลงแหล่งน้ำ ถ้ามีโรคนี้เกิดก็อาจติดมาถึงช้างได้
สาเหตุ เกิดจากเชื้อ Pasteurella spp.
อาการ ช้างป่วยกระทันหัน บริเวณลำคอบวมน้ำ ลิ้นและปากบวม หายใจลำบาก น้ำลายไหลยืด บางครั้งมีอาการท้องผูก อุจจาระมีมูกเลือด โรคนี้ถ้าเป็นในลูกช้างจะมีอัตราการตายสูงกว่าในช้างที่โตเต็มที่แล้ว ถ้ารีบรักษาก่อนอาการลุกลาม โอกาสรอดตายสูง
การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะ หรืออาจใช้ยาซัลฟา
การป้องกัน ฉีดวัคซีน 2 ซีซี./เชือก เข้ากล้ามเนื้อลึก ปีละ 1 ครั้ง ควรมีการตรวจสุขภาพอย่างน้อยเดือนละครั้ง
________________________________________
โรคฝีดาษ (Elephant pox)
โรคนี้เคยระบาดในช้างคณะละครสัตว์ในยุโรป ช้างป่วย 11 เชือก ตาย 1 เชือก จากจำนวนช้างทั้งหมด 18 เชือกที่มีอยู่
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการ เกิดเป็นตุ่มตามผิวหนัง ซึ่งรุนแรงถึงตายได้ ในช้างจะพบตุ่มตามศีรษะและงวง เยื่อตาอักเสบ (Conjunctivitis) และบวม มีของเหลวไหลจาก temporal gland มีรายงานว่า กรฝักตัวของโรคใช้เวลา 2 - 4 อาทิตย์ มี erosion & ulceration ของ mucous membranes กลืนอาหารลำบาก อ่อนเพลีย มีไข้สูง กีบหลุดลอก เจ็บขา (Lameness)
การรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะควบคุม Secondary infection
การวินิจฉัย ควรนำน้ำหรือเยื่อในตุ่มแผลส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ
การป้องกัน ควรมีการฉีดวัคซีน small pox ให้ทั้งช้างและคนที่เกี่ยวข้องเนื่องจากเป็นโรคติดต่อคนได้
________________________________________
โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)
ช้างอาจติดโรคพิษสุนัขบ้าได้จากการที่ถูกสุนัขบ้ากัด
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการ มีอาการเหมือนกับสุนัขบ้าทุกประการ คือ ช่วงแรกจะมีอาการเซื่องซึม ชอบอยู่ในที่มืด กินอาหารได้บ้าง ระยะต่อมาจะมีอาการทุรนทุรายมากขึ้น ตาเหม่อลอย เห็นคนหรือสัตว์ก็จะทำราย ต่อมาขากรรไกรแข็งเป็นอัมพาต กินอาหารและน้ำไม่ได้และตายในที่สุด เมื่อถูกสุนัขบ้ากัดใหม่ๆ ให้ใช้กรดไนตริคหรือโซดาไฟจี้ที่บาดแผลแล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน จะช่วยได้บ้าง
การรักษา ไม่มี
การป้องกัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขในบริเวณที่มีการเลี้ยงช้าง
________________________________________
โรคซัลโมเนลโลซิส (Salmonellosis)
มีรายงานว่าช้างเกิดโรคนี้บ่อยและเสียชีวิตจำนวนมากโดยเฉพาะลูกช้าง ถ้าช่วยไม่ทันอาจเสียชีวิตได้
อาการ ท้องร่วง ถ่ายเหลวเป็นน้ำไม่หยุด มีกลิ่นเหม็น มีมูกเลือดและเยื่อบุผิวปน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ไข้สูง มักพบในช้างที่อยู่ในโรงเรือนที่ไม่ถูกสุขลักษณะและมักติดต่อไปยังช้างเชือกอื่นๆ
การรักษา
- ให้ยาปฏิชีวนะ
- ให้ Supportive treatment ตามอาการ
- ในลูกช้างควรให้กินข้าวต้ม อาหารบด และกินน้ำมากๆ
________________________________________
โรคผิวหนัง (Skin diseases)
โรคผิวหนังในช้าง ได้แก่
1. Rash เป็นผื่น คัน เป็นอาการแพ้สารพิษ เช่น ถูกพืชมีพิษ ผิวหนังและกล้ามเนื้อบวม จะหายได้เองภายใน 2 - 3 วัน
2. Sunburn ช้างที่ถูกแสงแดดส่องเผาโดยตรงติดต่อกันหลายชั่วโมง ผิวหนังเกิดไหม้เกรียม ผิวหนังอักเสบ ควรให้ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบชนิดครีมทาบริเวณผิวหนัง
3. Dermatitis โรคผิวหนังอักเสบและมีการติดเชื้อ ผิวหนังพุพองจากการคัน และเกาถู เกิดเป็นประจำกับช้างบ้านที่ขาดการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร ร่างกายสกปรก ไม่ได้อาบน้ำ ผิวหนังแห้งเป็นขุยหรือถูกแมลงต่างๆ รบกวน เช่น
- เหลือบ (Tabanus) มีชุกชุมอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะในหน้าฝน จะดูดกินเลือดและจะเป็นพาหะนำเชื้อโรค surra มาสู่ช้างได้
- แมลงวันคอก (Stable flies, stomoxys) ชอบกัดและดูดเลือดช้างตามผิวหนัง
- แมลงวันป่า (Gad flies) จะเอาก้นไชหนังช้างแล้วปล่อยไข่ไว้ ไข่จะเจริญเป็นตัวอ่อน เป็นหนอนหรือชาวบ้านเรียกว่าตัวด้วง เห็นเป็นตุ่มๆ อยู่บริเวณผิวหนังช้าง ซึ่งภายในตุ่มนี้ตัวอ่อนจะจเริญอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วดันทะลุออกจากผิวหนังตกบนพื้นดินเจริญเป็นตัวแมลงวันป่าต่อไป
- เหาแดง เหาช้าง (Elephant louse-Haematomyzus elephantis)
การรักษา
1. ทำความสะอาดผิวหนังด้วยสบู่หรือยาฆ่าเชื้อโรค
2. กรณีเป็นเชื้อรา ให้กิน Griseofulvin ขนาด 0.5 - 1 mg./kg. หรือ Ketoconzole โดยตรวจดูอาการของสัตว์ประกอบด้วยทุกวัน
3. Supportive tratment
4. ให้กิน Vitamin B complex 10 - 20 tabs/วัน นาน 1 - 5 เดือน
5. ให้ยาตามสมควร เช่น Sulfur ointment, gentian violet, Povidone iodine, Thimerosol tincture หรือ Carbamate powder หรือ Ivermectin solution หรือ Prednisolone cream
6. ถ้าเกิดจากเหาแดงหรือเหาช้าง อาจใช้ Ivermectin® 0.06 - 0.08 mg./kg. ให้กินหรือใช้ Carbamate powder (Negasunt®) โรยแผลหรือใช้มะขามเปียกถูตัวร่วมกับ Neguvon® โดยก่อนทาอาบน้ำก่อน แล้วห้ามอาบตลอด 24 ชั่วโมง
7. อาจใช้เครือสะบ้า (Entada scandams) ทุบให้ละเอียดฟอกช้างทุกวันหลังอาบน้ำแล้วเครือสะบ้าจะเกิดเป็นฟองคล้ายสบู่ ปล่อยทิ้งให้ฟองแห้งไปเอง บางแห่งใช้เครือหางไหล หรือโล่ติ้นทุบแช่น้ำ แล้วใช้ผ้าชุบเช็ดถูตามตัวก็ได้ผลดี
________________________________________
โรคท้องผูกในช้าง
สาเหตุ ส่วนใหญ่จากการกินอาหารที่มีลักษณะที่เป็นเยื่อใย พันกันเป็นก้อนและขวางลำไส้ เช่น ทางมะพร้าวหรือต้นกล้วยทั้งต้น
การรักษา พยายามล้วงสวนทวารด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ หรือน้ำอุ่น โดยใช้ปั๊มเข้าข้างในทวาร เข้าไปมากๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายส่วนที่อุดตันออก
________________________________________
โรควัณโรค (Tuberculosis)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium spp.
อาการ มักเป็นแบบเรื้อรัง น้ำหนักลดลง ทั้งที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ มีน้ำมูกไหลตลอดเวลา เบื่ออาหาร ยืนเซื่องซึม ไอเสียงดัง หายใจลำบาก
การวินิจฉัย จากประวัติและอาการทางคลินิค และการเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการ ย้อมสีเชื้อ acid fast จาก nasal discharge เพื่อตรวจสอบทางกล้องจุลทรรศน์ให้แน่ชัดด้วย
การรักษา โดยฉีด Isoniazid ซึ่งมีรายงานว่ารักษาได้ผลดี
________________________________________
โรคบาดทะยัก (Tetanus)
โรคบาดทะยักส่วนใหญ่พบในช้างที่ถูกลักตัดงาและตัดชิดจนพบโพรงงา ช้างจะนำดินยัดเข้าโพรงงา เชื้อที่ติดมากับดินเจริญเติบโตได้ดีในโพรงงา ทำให้เกิดโรคได้ นอกจากนี้ยังพบในช้างที่อยู่ในโรงเรือนที่ไม่ถูกสุขลักษณะและมีบาดแผลเป็นรูลึก
สาเหตุ เชื้อแบคทีเรีย Clostridium tetani
ช้างจะมีอาการ ซึม กินอาหารและน้ำลำบาก ขากรรไกรแข็ง หายใจลำบาก มีไข้สูง แสดงอาการชัก เกร็งของกล้ามเนื้อ ขาและหาง โอกาสตายสูงมาก
การรักษา
- Penicillin high dose
- Antitoxin 30,000 – 50,000 iu/kg.
- ถ้ามีอาการชักอาจให้ 7% Chloral hydrate .60 gm หรือถ้าให้เข้าทางทวารหนัก จำนวน 2 - 4 ออนซ์
- กรณีที่กินอาหารไม่ได้ ต้องป้อนอาหารเหลวผ่านสายยางเข้าปาก
- แนะนำให้ฉีด Toxoid 4 - 5 ซี.ซี./ครั้ง ภายหลังการรักษา 3 - 4 วัน
การป้องกัน ไม่ควรตัดงาสั้นจนเกินไป เมื่อพบช้างที่ถูกลักตัดงาสั้นเกินไปจนเห็นโพรงงา ให้รับรักษาแผล
________________________________________
โรคติดเชื้อไวรัส
Herpes virus
พบว่าช้างป่าแอฟริกามีอาการของปอดที่ติดเชื้อ Herpes virus จากการผ่าซาก
Encephalomyocarditis virus (ECMV)
เป็นโรคที่มีความรุนแรงทำให้ช้างถึงตายได้ พบทั้งช้างเอเชียและแอฟริกา ที่สวนสัตว์ 3 แห่งในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา มีช้างล้มป่วยด้วยโรค ECMV อย่างเฉียบพลันและตายลง จากการผ่าซากพบว่า มีวิการของปอดบวมและเลือดคั่ง พบ cardiomyopathy ส่วนสาเหตุของการเกิดโรคนั้นเชื่อว่าเกิดจากเชื้อนี้ติดมากับสัตว์ป่าที่อยู่ในสวนสัตว์ด้วยกัน โรคนี้สามารถติดต่อถึงคนได้แต่เป็นแบบอ่อนๆ หรือไม่แสดงอาการให้เห็น
Coryzalike Syndrome
มีอาการเหมือนคนเป็นหวัด มีน้ำมูกไหลอย่างรุนแรง น้ำตาไหล เบื่ออาหารเล็กน้อย ซึม ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าเกิดจากไวรัสชนิดใด ช้างที่ป่วยถ้ามีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ก็จะหายป่วยจากโรคเองได้โดยไม่ต้องมีการรักษาหรืออาจจะให้ยาปฏิชีวนะและยาบำรุงเพื่อป้องกันการเกิดโรคปอดบวมแทรกซ้อน
________________________________________
บาดแผล (wounds)
บาดแผลที่ลำตัว งวงหรือฝ่าเท้า เช่น ถูกมีดหรือเคียวปาดงวง ถูกกระจกหรือแก้วบาดขา ถูกของแหลมตำ เช่น ตะปูหรือเศษแก้วตำหรือแทงเข้าไปในบริเวณฝ่าเท้า
อาการ ที่สังเกตได้คือ ช้างจะเดินไม่ปกติ อาจยกขาหรือมีเลือดไหลออกตามบาดแผลให้เห็นหรือข้อขาบวม ตรวจพบตะปูหรือเศษแก้ว
การรักษา วางยาสลบในท่ายืนหลับในช้างโตหรือท่านอนตะแคงหลับในช้างเล็ก อาจต้องฉีดยาชาเฉพาะที่ช่วย เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน เสร็จแล้วในช้างเล็กควรฉีด Antidote ให้ฟื้นขึ้น ฉีดยาปฏิชีวนะ ทำความสะอาดและใส่ยาใส่แผลตามควรทุกวัน

ฝี (Abscesses)
ฝีที่ผิวหนังจะบวมปูดขึ้นมา ส่วนใหญ่มีลักษณะกลมหรือรี มักพบที่คอ ด้านข้างของขาหน้า กลางหลัง บริเวณหัวเข่าและท่อนขา การเกิดฝีในช้างจะพบบ่อยมาก สาเหตุมักจะเกิดจากการกระแทก ชน ทำให้เกิดฟกช้ำ การถูครูด แผล พยาธิ ซึ่งมีการเสียดสีเป็นเวลานาน หรือเกิดจากการแพ้วัคซีน การฉีดยาผิด route
การรักษา
1. ถ้าฝียังไม่สุก ประคบหรือทาด้วย Tincture iodine ร่วมกับน้ำมันนวดทุกวันจนฝีสุกจึงเจาะหรือบีบหนองออกให้หมด
2. ถ้าแน่ใจว่าฝีสุกดีแล้ว ก็ทำการผ่าเอาหนองออกให้หมด แล้วล้างทำความสะอาดด้วย solution ของ nitrofurazone ผสม dimethylsulfoxide (DMSO) ในอัตรา 2:1 ซึ่งใช้รักษาฝีช้างได้ผลดีหรืออาจล้างด้วย NSS หรือ antiseptic อื่นๆ แล้วจึงทำ Setoning หรือใช้ Bactacin ใส่หรือใส่ยาทิงเจอร์ไอโอดีนหรือ Gentian violet ทุกวัน
________________________________________
โรคพยาธิภายใน
พยาธิภายในของช้างพบในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ มีดังนี้
1. พยาธิตัวกลม (Nematoda)
Murshida indica, M. falcifera และ M. elephasi
Quilonia renniei, Q. sedecimradiata
Equinurbia sipunculiformis
Decrusia additictia
Choniangium epistomum
2. พยาธิใบไม้ (Trematoda)
Pfenderius heterocaeca
3. พยาธิตัวตืด
Anoplocephala mambriata
นอกจากนี้ยังมี
พยาธิใบไม้ในตับ :- Fasciala jacksoni
พยาธิใบไม้ในลำไส้ใหญ่ :- Psudodiscus hawkesi, P. collinsi
พยาธิในกระแสโลหิต :- Dipetalonema goosi, D. loxodontis, Indofilaria spp., Pattabiramani spp., Schistosoma nairi, Babesia spp., Trypanosoma spp.
พยาธิปากขอ (Hookworm)
โปรโตซัว :- Eimeria spp., Trichomonas spp.

อาการ ถ้าช้างมีพยาธิในลำไส้มาก จะแสดงอาการท้องอืด ท้องเสีย ลำไส้อักเสบ โรคตับอักเสบ
การรักษา ตามธรรมชาติ เมื่อช้างรู้สึกตัวว่ามีพยาธิรบกวนมากเกินไปแล้ว ช้างก็จะหากินดินปนหญ้าจำนวนเท่าลูกมะพร้าว หลังจากนั้น 1 - 2 วัน ช้างก็จะท้องอืด ตึง แล้วถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ มีพยาธิเป็นๆ ปนออกด้วยติดต่อกันหลายวัน บางตัวอาจนานกว่า 10 วัน ช้างจะมีร่างกายซูบผอมลง อ่อนเพลีย แต่จะรู้สึกสบายตัวขึ้น แล้วช้างจะหาวิธีแก้ท้องร่วงเอง โดยจะหากินเครือกระวัลย์และเปลือกต้นหว้าหรือเปลือกอินทรีย์หรือกระโดน แล้วช้างจะเกิดความอยากกินอาการ กินจุ ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการสังเกตเบื้องต้นพบว่าช่วงเวลาที่ช้างจะมีการถ่ายท้องขับพยาธิ คือ ช่วงเดือนมิถุนายน-เดือนกรกฎาคม และช่วงเดือนกันยายน-เดือนพฤศจิกายน
- อาจให้ยาถ่ายพยาธิรวมคือ Ivermectin ขนาด 8 - 10 c.c/ตัว ฉีดเข้าใต้หนังแต่ถ้าตรวจพบพยาธิใบไม้ ก็ใช้ Ivermec®-F ซึ่งสามารถถ่ายพยาธิตัวอื่นๆ ด้วย
- ยากินที่ใช้รักษาโรคพยาธิภายในของช้างมีหลายชนิด ได้แก่ Thiabendazole, Abendazole, Fenbendazole, Mebendazole, Nitrozanil (Trodax®) และ Tetramisole
________________________________________
โรคลมชักหรือโรคลมแดด (Heatstroke)
สาเหตุ เกิดเนื่องจากปล่อยช้างอยู่กลางแดดนานเกินไป สัตว์จะมีอาการยืนซึม ไม่กินอาหาร เดินเซ หายใจหอบ ล้มลงทันทีทันใด
การรักษา
- ถ้าช้างอยู่ในท่านอนคว่ำ ให้พลิกอยู่ในท่านอนตะแคง หาที่ร่มให้ เช่น ใต้ต้นไม้ กางผ้าใบให้ ใช้น้ำเย็นใส่เข้าทางก้น ใช้น้ำแข็งวางที่ด้านหน้าและหัว ฉีดน้ำเย็นให้ทั่วตัว
- ให้ Prednisolone 0.05 - 0.1 mg./kg. เข้าทางหลอดเลือดดำหรือ Dexamethasone 0.05 - 0.1 mg./kg. เข้าหลอดเลือดดำ
- เมื่อช้างยืนได้แล้วอย่าให้ล้มลงไปอีก ควรประคองไว้
- ให้ Steroid และ Antibiotics 2 - 5 วัน
- ให้ผูกช้างไว้ในที่ร่ม จนกว่าอาการจะเป็นปกติ
________________________________________
สัตว์มีพิษกัดต่อย
ช้างถูกสัตว์มีพิษกัด ต่อย เช่น แตน ต่อหัวเสือ มดตะนอย ตะขาบ งูพิษ
การรักษา
- ฟอกสบู่ทำความสะอาดบาดแผลที่บวม
- ถ้าเป็นแผลที่กระจกตาให้ใช้น้ำเกลือ (NSS) ล้าง ทายา Antihistamine cream ให้ยาปฎิชีวนะร่วมกับ Antihistamine
- ช้างที่ถูกงูพิษกัด มักจะแก้ไม่ทันและมักตายเพราะส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นตอนกลางคืน เมื่อช้างอยู่ในป่าและจะทราบตอนช้า การแก้ไขเบื้องต้นเมื่อทราบว่าถูกงูพิษกัด คือ กรีดบาดแผลให้กว้าง ล้างด้วยน้ำสะอาด ใช้น้ำด่างทับทิม 1% ชะล้างแผลและถ้ารู้ชนิดของงูที่กัด อาจใช้เซรุ่มแก้พิษงูเพื่อช่วยชีวิตช้างได้

________________________________________
ปัญหาของงาช้าง (Tusk problem)
ช้างพังมีงาหรือช้างพลาย ตามชีวิตธรรมชาติของช้างจะมีพฤติกรรมที่จะต้องถูงากับเสาหรือพื้นดินเป็นประจำ เพื่อถูหรือลับให้ปลายงาช้างแหลมและงาไม่ยาวเร็วเกินไป ซึ่งงาสองข้างของช้างตัวเดียวกัน อาจจะสึกไม่เท่ากัน ปัญหาของงาช้างที่พบเสมอๆ คือ
1. ปลายงาช้างแตก ถ้าร่องแตกลึกมากและลุกลามไปในโพรงงา ส่วนที่มีเนื้ออ่อน อักเสบและติดเชื้อ การรักษาลำบากควรมีการตัดแต่งงาป้องกันรอยแตกร้าว
2. ปัญหาจากการถูกลักตัดงา บางครั้งตัดถึงโคนงา ทำให้เลือดไหลไม่หยุด อาจถึงตายได้ แต่แม้เลือดจะหยุด ก็เกิดการอักเสบและติดเชื้อลุกลามเข้าไปในโคนงา มีหนอง ซึ่งรักษาไม่ค่อยหายขาด มักจะมีการอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง นอกจากงาจะหลุดออกหรือบางรายอาจติดเชื้อ บาดทะยักและตายได้ จึงควรป้องกันด้วยการตัดงาช้างให้มีความยาวพอเหมาะและระวังเรื่องความสะอาด
ตามปกติ งาช้างจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน ส่วนที่ 1 คือ ส่วนโคนงาซึ่งฝังอยู่ในกล้ามเนื้อและกระดูกศีรษะ ส่วนที่ 2 และ 3 คือ ส่วนที่โผล่พ้นหนังแก้มจนถึงปลายแหลมของงา ซึ่งถ้าแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน ส่วนที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนตรงกลางของงา ภายในงาในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 จะเป็นโพรงมีเนื้ออ่อน ซึ่งมีเส้นเลือดและประสาทหล่อเลี้ยงอยู่ ดังนั้น การตัดงาควรตัดเฉพาะส่วนที่ 3 ก็จะไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง
การป้องกัน เมื่อพบช้างถูกตัดงาช้างสั้นเกินไปจนเห็นโพรงงา ควรให้ยาปฏิชีวนะทำความสะอาดโพรงงาและทำวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก ในช่วงแรกที่ถูกตัดงา อาจจะใช้แคลเซียมไฮดรอกไซด์อุดโพรงงาแบบชั่วคราวไว้ 6 เดือนถึง 1 ปี หรือจนไม่มีการติดเชื้อ จึงอุดแบบถาวรด้วยปูนปลาสเตอร์

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

แนวทางปฏิบัติเมื่อพบโรค"อหิวาต์สุกร"

1.ทำลายสุกรที่แสดงอาการป่วยทั้งหมดและกำจัดซากโดยการเผาหรือฝัง
2.กระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคอหิวาต์สุกรให้กับสุกรที่เหลือทั้งหมด โดยทำวัคซีนอหิวาต์สุกรจำนวน 2 ครั้งห่างกัน 1-2 สัปดาห์และคอยทำลายสุกรที่แสดงอาการป่วยภายหลังทำวัคซีน 1 สัปดาห์
3.ทำความสะอาดคอกและอุปกรณ์โดยใช้ยาฆ่าเชื้อและพักคอกที่มีสุกรป่วยอย่างน้อย 1 สัปดาห์
4.พ่นยาฆ่าเชื้อโรคภายในฟาร์มทุกวัน จนกว่าจะไม่พบสุกรป่วยและตายเพิ่ม
5.ให้ทำวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์สุกร ตามโปรแกรมดังนี้
5.1 ทำวัคซีนฯพร้อมกันทั้งแม่และลูกภายหลังหย่านมและกระตุ้นซ้ำในลูกช่วงสัปดาห์แรกของการลงขุน
5.2 ในพ่อพันธุ์ ทำวัคซีนฯทุก 4-6 เดือน
5.3 ในสุกรทดแทน ทำวัคซีนฯ 1-2 ครั้งก่อนนำเข้าโรงเรือน
(อ้างอิง:ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคใต้ กรมปศุสัตว์)

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

โคกินปุ๋ยยูเรีย

เกษตรกรแจ้งโคกินปุ๋ยยูเรีย ชักจะตายแล้วให้ปศุสัตว์ไปรักษาให้หน่อย
ในรอบปีหนึ่งๆมักจะได้รับแจ้งจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ว่าโค กระบือป่วย ชัก น้ำลายฟูมปาก ตาย เหมือนกินยาพิษ ส่วนใหญ่ แอบไปกินปุ๋ยยูเรียที่เตรียมไว้ใส่แปลงพืช หรือสวนผลไม้ อาจจะเป็นแบบผสมน้ำแล้วนำเป็นถัง หรือไปใส่สวนแล้วไม่หมดถังทิ้งไว้จะด้วยรู้เท่าไม่ถึงหรือลืมเก็บก็แล้วแต่ โค กระบือ หิวน้ำก็ไปกิน ก็ไม่รู้จักนี่ว่าเป็นน้ำหรือมีสารพิษอะไรตามประสาสัตว์ กินไปเต็มๆ หรือบางที่ชื้อมายังไม่ทันจะใช้เอาแขวนไว้ วัวที่ตัวโต เลียถึงนึกว่าเกลือก็คาบเอาลงมากินหากว่ากินมากๆ
ส่วนมาก ก็ไม่รอด ซักตายภายในไม่กี่นาที และในรายที่ใส่น้ำมักจะแย่งกันกินหลายตัว ก็จะแสดงอาการมากน้อยตามที่กิน
เนื่องจากปุ๋ยยูเรียเป็นกรด กินเข้าไปก็ทำให้เกิดกรดในกระเพาะอย่างแรง
มีวิธีแก้ในรายที่กำลังเริ่มหรือเจ้าของเห็นด้วยตาว่ากินก็ให้รีบกรอกน้ำส้มสายชู ๑ ขวดที่ผสมกับน้ำสะอาด ๕ ขวด กรอกให้โค กระบือ ที่ป่วยนั้นกิน
หากว่าแก้ไขทันโคไม่ตายจะมีอาการทรงๆอยู่ประมาณวันสองวันแล้วจะกลับมากินหญ้าปกติ ก็เป็นการลดความเป็นกรดในกระเพาะของโคนั่นเอง ก็เป็นอะไรที่คาดไม่ถึงนำมาฝากกันครับ

วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
1.ชนิดสัตว์ -ฉีดในสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ส่วนมากนิยมฉีดในสุนัข และแมว
2.อายุสัตว์ -เริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือนขึ้นไป
3.ระยะความคุ้มโรค -วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ปกติ ฉีด 1 ครั้ง จะมีความคุ้มโรคฯได้ 1 ปี
-ยกเว้นถ้าเป็นการฉีดวัคซีนฯครั้งแรก ต้องฉีดกระตุ้นหลังจากครั้งแรก ประมาณ 14-21วัน
จึงจะมีความคุ้มโรค ได้ 1 ปี ต่อจากนั้นให้ฉีดวัคซีนฯปีละ 1 ครั้ง
4.ข้อควรปฏิบัติ 4.1 ฉีดในสัตว์ที่มีสุขภาพสมบูรณ์เท่านั้น
4.2 หลังจากฉีดวัคซีนฯแล้วไม่ควรอาบน้ำ 7 วัน