สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสิชล จ.นครศรีธรรมราช

สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสิชล จ.นครศรีธรรมราช
นายสุริยะ ริยาพันธุ์ ตำแหน่ง สัตวแพทย์อาวุโส

รางวัลแห่งความภูมิใจ

รางวัลแห่งความภูมิใจ
หน่วยผสมเทียมดีเด่น กรมปศุสัตว์ ปี 2553

หน่วยผสมเทียมดีเด่น รางวัล ชนะเลิศ

หน่วยผสมเทียมดีเด่น รางวัล ชนะเลิศ

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ
สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสิชล คว้ารางวัลงานผสมเทียม อันดับ 1 และ อันดับ 2 ระดับเขต 8

หน่วยวิจัยผสมเทียมสิชล

หน่วยวิจัยผสมเทียมสิชล

การบริหารงานภายในสำนักงานปศุสัตว์อำเภอสิชล

1.โครงการ Good office (ค่านิยมสร้างสรรค 5 ประการ)
1.1 กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
1.2 ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ
1.3 โปร่งใสและตรวจสอบได้
1.4 ไม่เลือกปฏิบัติ
1.5 มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
2.โครงการ 5 ส.
3.จะไม่นำหรืออ้างระเบียบที่หยุมหยิมเกินไปมาเป็นตัวขัดขวางในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานราชการหรืออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน

วิสัยทัศน์

1.ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการผลิตทุกธุรกิจปศุสัตว์
2.ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการลงทุนทุกธุรกิจปศุสัตว์
3.ส่งเสริมและสนับสนุนเร่งรัดด้านการส่งออก(ต่างจังหวัดฯ)
4.สัตว์ปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

แนวทางปฏิบัติเมื่อพบโรค"อหิวาต์สุกร"

1.ทำลายสุกรที่แสดงอาการป่วยทั้งหมดและกำจัดซากโดยการเผาหรือฝัง
2.กระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคอหิวาต์สุกรให้กับสุกรที่เหลือทั้งหมด โดยทำวัคซีนอหิวาต์สุกรจำนวน 2 ครั้งห่างกัน 1-2 สัปดาห์และคอยทำลายสุกรที่แสดงอาการป่วยภายหลังทำวัคซีน 1 สัปดาห์
3.ทำความสะอาดคอกและอุปกรณ์โดยใช้ยาฆ่าเชื้อและพักคอกที่มีสุกรป่วยอย่างน้อย 1 สัปดาห์
4.พ่นยาฆ่าเชื้อโรคภายในฟาร์มทุกวัน จนกว่าจะไม่พบสุกรป่วยและตายเพิ่ม
5.ให้ทำวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์สุกร ตามโปรแกรมดังนี้
5.1 ทำวัคซีนฯพร้อมกันทั้งแม่และลูกภายหลังหย่านมและกระตุ้นซ้ำในลูกช่วงสัปดาห์แรกของการลงขุน
5.2 ในพ่อพันธุ์ ทำวัคซีนฯทุก 4-6 เดือน
5.3 ในสุกรทดแทน ทำวัคซีนฯ 1-2 ครั้งก่อนนำเข้าโรงเรือน
(อ้างอิง:ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคใต้ กรมปศุสัตว์)

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

โคกินปุ๋ยยูเรีย

เกษตรกรแจ้งโคกินปุ๋ยยูเรีย ชักจะตายแล้วให้ปศุสัตว์ไปรักษาให้หน่อย
ในรอบปีหนึ่งๆมักจะได้รับแจ้งจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ว่าโค กระบือป่วย ชัก น้ำลายฟูมปาก ตาย เหมือนกินยาพิษ ส่วนใหญ่ แอบไปกินปุ๋ยยูเรียที่เตรียมไว้ใส่แปลงพืช หรือสวนผลไม้ อาจจะเป็นแบบผสมน้ำแล้วนำเป็นถัง หรือไปใส่สวนแล้วไม่หมดถังทิ้งไว้จะด้วยรู้เท่าไม่ถึงหรือลืมเก็บก็แล้วแต่ โค กระบือ หิวน้ำก็ไปกิน ก็ไม่รู้จักนี่ว่าเป็นน้ำหรือมีสารพิษอะไรตามประสาสัตว์ กินไปเต็มๆ หรือบางที่ชื้อมายังไม่ทันจะใช้เอาแขวนไว้ วัวที่ตัวโต เลียถึงนึกว่าเกลือก็คาบเอาลงมากินหากว่ากินมากๆ
ส่วนมาก ก็ไม่รอด ซักตายภายในไม่กี่นาที และในรายที่ใส่น้ำมักจะแย่งกันกินหลายตัว ก็จะแสดงอาการมากน้อยตามที่กิน
เนื่องจากปุ๋ยยูเรียเป็นกรด กินเข้าไปก็ทำให้เกิดกรดในกระเพาะอย่างแรง
มีวิธีแก้ในรายที่กำลังเริ่มหรือเจ้าของเห็นด้วยตาว่ากินก็ให้รีบกรอกน้ำส้มสายชู ๑ ขวดที่ผสมกับน้ำสะอาด ๕ ขวด กรอกให้โค กระบือ ที่ป่วยนั้นกิน
หากว่าแก้ไขทันโคไม่ตายจะมีอาการทรงๆอยู่ประมาณวันสองวันแล้วจะกลับมากินหญ้าปกติ ก็เป็นการลดความเป็นกรดในกระเพาะของโคนั่นเอง ก็เป็นอะไรที่คาดไม่ถึงนำมาฝากกันครับ