สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสิชล จ.นครศรีธรรมราช

สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสิชล จ.นครศรีธรรมราช
นายสุริยะ ริยาพันธุ์ ตำแหน่ง สัตวแพทย์อาวุโส

รางวัลแห่งความภูมิใจ

รางวัลแห่งความภูมิใจ
หน่วยผสมเทียมดีเด่น กรมปศุสัตว์ ปี 2553

หน่วยผสมเทียมดีเด่น รางวัล ชนะเลิศ

หน่วยผสมเทียมดีเด่น รางวัล ชนะเลิศ

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ
สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสิชล คว้ารางวัลงานผสมเทียม อันดับ 1 และ อันดับ 2 ระดับเขต 8

หน่วยวิจัยผสมเทียมสิชล

หน่วยวิจัยผสมเทียมสิชล

การบริหารงานภายในสำนักงานปศุสัตว์อำเภอสิชล

1.โครงการ Good office (ค่านิยมสร้างสรรค 5 ประการ)
1.1 กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
1.2 ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ
1.3 โปร่งใสและตรวจสอบได้
1.4 ไม่เลือกปฏิบัติ
1.5 มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
2.โครงการ 5 ส.
3.จะไม่นำหรืออ้างระเบียบที่หยุมหยิมเกินไปมาเป็นตัวขัดขวางในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานราชการหรืออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน

วิสัยทัศน์

1.ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการผลิตทุกธุรกิจปศุสัตว์
2.ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการลงทุนทุกธุรกิจปศุสัตว์
3.ส่งเสริมและสนับสนุนเร่งรัดด้านการส่งออก(ต่างจังหวัดฯ)
4.สัตว์ปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การดำเนินการเมื่อพบสุกรสงสัยว่าเป็นโรค PRRS

เมื่อปศุสัตว์อำเภอได้รับแจ้งว่ามีสุกรป่วย-ตาย ให้ดำเนินการ ดังนี้
1) ตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้นแล้วพบสุกรป่วยและมีลักษณะใกล้เคียงหรือตรงตามคำนิยามโรค
PRRS และดำเนินการสอบสวนโรคในเบื้องต้นโดยด่วน
2) ให้สำนักงานปศุสัตว์อำเภอดำเนินการเก็บตัวอย่างตามข้อ 2.1 และ 2.2 ดังนี้
     2.1) เก็บตัวอย่างจากสุกร กำลังป่วยใกล้ตาย หรือซากสุกรที่ตายใหม่ไปยังศูนย์วิจัยและ
พัฒนาการสัตวแพทย์ (ศวพ.) ที่รับผิดชอบพื้นที่ หรือ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ (สสช.)
     2.2) ผ่าซากและเก็บตัวอย่างจากอวัยวะที่สำคัญ เช่น ทอนซิล ปอด ตับ ม้ามไต หัวใจ โดย
ในขั้นตอนการผ่าซากให้เป็นไปตามหลักวิชาการและป้องกันโรคปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมด้วย
3) แนวทางการควบคุมโรค ดังนี้
    3.1) สั่งกักสุกรภายในสถานที่เกิดโรค หากเป็นไปได้ ควรให้เจ้าของเป็นผู้ดำเนินการแยก
สัตว์ป่วย (isolation) จากสัตว์ที่มีอาการปกติ
   3.2) แนะนำให้เกษตรกรดำเนินการ
          ‐ เผา หรือ ฝังซากสุกรที่ตาย โดยให้ฝังซากสุกรใต้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่า50เซนติเมตร และถ้าเป็นสัตว์ใหญ่ให้พูนดินกลบเหนือระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร โดยใช้สารเคมีทำลายเชื้อโรคราด หรือโรยที่ส่วนต่างๆ ของซากสัตว์จนทั่ว และเลือกสถานที่ฝังซากสุกรที่ไม่มีน้ำท่วมขัง
         - กักกันและแยกสัตว์ที่อยู่ร่วมฝูงกับสัตว์ที่ป่วย-ตาย
         - ปัดกวาดทำความสะอาดเล้าและพื้นที่เลี้ยงสัตว์ด้วยน้ำผงซักฟอก (detergent cleansing) หรือ ทำการพ่น/ราดน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (disinfection) ให้ทั่วบริเวณที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของ
เชื้อโรค อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้งหรืออย่างน้อยจนกว่าจะไม่พบสุกรป่วยและจัดให้มีอ่างใส่น้ำยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับบุคคลที่เข้า-ออกคอกสัตว์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น